วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556



 งูสมิงทะเลปากเหลือง (Laticauda colubrine)




งูทะเล เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลื้อยคลานจำพวกงู ที่อาศัยและดำรงชีวิตอยู่ในทะเลตลอดชีวิต ไม่เคยขึ้นมาบนบกเลย ยกเว้นการผสมพันธุ์และวางไข่ในบางชนิด งูทะเลเป็นงูที่อยู่ในวงศ์ย่อย Hydrophiinae และ Laticaudinae งูทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่ในทะเลหรือปากแม่น้ำชายฝั่งหมด ยกเว้น ชนิด Hydrophis semperi และ Laticauda crokeri เท่านั้น ที่พบอาศัยอยู่ในทะเลสาบน้ำจืดในประเทศฟิลิปปินส์

งูทะเล ทั่วโลกมีทั้งหมดประมาณ 50 ชนิด[1] พบตั้งแต่มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย เชื่อว่าเป็นงูบกที่พัฒนาการลงมาสู่น้ำ โดยปกติ งูทะเลจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งน้ำตื้นที่อบอุ่น หากินปลาเป็นอาหารหลัก มีรูปร่างคล้ายงูบก แต่มีส่วนที่แตกต่างออกไปคือ เกล็ด บางชนิดมีเกล็ด

เป็นมัน บางชนิดมีเกล็ดฝังอยู่ใต้ผิวหนัง ลำตัวลื่นคล้ายปลา หางแบนราบคล้ายใบพาย ซึ่งเป็นวิวัฒนาการใช้สำหรับว่ายน้ำ สีสันลำตัวเป็นปล้อง จึงทำให้จำแนกด้วยตาเปล่าได้ยากว่าชนิดไหนเป็นชนิดไหน โดยทั่วไปงูทะเลมีความยาวเต็มที่ประมาณ 50 - 70 เซนติเมตร แต่ก็มีบางชนิดที่ยาวได้ถึง 2 เมตร และมักอาศัยตามทะเลโคลนหรือทะเลที่มีน้ำขุ่นมากกว่าทะเลน้ำใส[2]

ฟันของงูทะเลเป็นเขี้ยวสั้น ๆ ยกเว้นในสกุล Emydocephalus ที่มีฟันแข็งเรียงเป็นแถวหลังเขี้ยวบนกรรไกรบน อาจมีมากถึง 18 ซี่ งูทะเลจะมีชิ้นเนื้อเล็ก ๆ คล้ายฟองน้ำ ซึ่งจะช่วยขวางกั้นไม่ให้น้ำเข้าสู่รูจมูกเมื่อต้องการดำน้ำ รูจมูกของงูทะเลไม่มีอาณาเขตที่แน่นอน แต่จะอยู่สูงกว่างูบก ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าสู่รูจมูกได้โดยง่าย

ปอดข้างซ้ายของงูทะเลลดรูปลง ส่วนปอดข้างขวาจะพัฒนาให้ยาวขึ้น ในบางกรณีพบว่ายาวจนถึงรูก้น นอกจากจะมีปอดเอาไว้เพื่อหายใจแล้ว ปอดที่ยาวขึ้นนี้เชื่อว่าจะช่วยทำหน้าที่ช่วยในการหายใจ จึงสามารถเคลื่อนไหวได้ดีในน้ำทะเล เนื่องจากมีการปรับตัวทางด้านร่างกาย ทำให้สามารถเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วไปทางด้านหน้าและด้านหลัง แต่เคลื่อนตัวได้ไม่ดีเมื่ออยู่บนบก งูทะเลสามารถลอยตัวอยู่ที่ผิวหน้าน้ำทะเลได้เป็นเวลานานหลายชั่วโมง

งูทะเลส่วนใหญ่เป็นงูพิษ และเป็นงูพิษร้ายแรงด้วย พิษของงูทะเลเป็นพิษที่ทำลายระบบประสาท เช่นเดียวกับงูในจำพวกงูสามเหลี่ยม อาการที่โดนพิษจะออกฤทธิ์ช้ากว่างูบก โดยจะออกฤทธิ์เมื่อถูกกัดไปแล้วนานถึงครึ่งชั่วโมงหรือ 1 ชั่วโมง จึงมักมีผู้ถูกงูทะเลกัดเสียชีวิตบ่อย ๆ โดยไม่รู้ตัว แต่งูทะเลก็มีศัตรูตามธรรมชาติ คือ นกอินทรี ที่โฉบงูทะเลกินเป็นอาหาร

งูทะเลที่พบในประเทศไทยมีหลายสิบชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล ชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ งูสมิงทะเลปากดำ (Laticauda laticaudata) ที่มีความยาวได้ถึง 2 เมตร และมีพิษร้ายแรงที่สุด และมีอยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ไม่มีพิษ คือ งูผ้าขี้ริ้ว (Acrochordus granulatus) โดยคนไทยมักจะเรียกชื่องูเหล่านี้รวมกัน เช่น งูผ้าขี้ริ้ว งูคออ่อน งูแสม งูฝักมะรุม งูชายธง เป็นต้น ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นงูแต่ละชนิดกัน

งูทะเลเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเล ส่วนมากหางจะมีลักษณะแบนคล้ายใบพายเพื่อประโชน์ในการว่ายน้ำ ทั่วโลกมีงูทะลอยู่ราว 16 สกุล ประมาณ 50 ชนิด[1]แพร่กระจายอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกและชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย งูทะเลอาจว่ายทวนน้ำเข้าไปในแหล่งน้ำจืด หรือในฤดูฝนอาจว่ายเข้าไปบริเวณปากน้ำที่เป็นน้ำกร่อย เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้มีปลาเป็นจำนวนมากจึงทำให้งูทะเลชุกชุมในบริเวณดังกล่าว งูทะเลเป็นสัตว์ที่ไม่ดุร้ายถึงแม้จะอยู่ในฤดูผสมพันธุ์ พวกมันมีพิษเอาไว้เพื่อการป้องกันตัวหรือหาอาหารเท่านั้น การที่คนเราถูกงูทะเลกัดเนื่องจากการเหยียบหรือจับต้องตัวมันขณะที่ติดมากับอวนของเรือประมง

อาการของผู้ที่ได้รับพิษจากงูทะเล


พิษงูทะเลเป็นพิษชนิด Neurotoxin เมื่อถูกกัดพิษจะกระขายไปทั่วกล้าเนื้อต่างๆ และกล้ามเนื้อที่ถูกพิษทำลายนี้จะสามารถซ่อมแซมเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์หลังการกัดจนกล้ามเนื้อนั้นกลับมาสมบูรณ์ดังเดิม สำหรับอาการต่างๆ จะเริ่มพัฒนาขึ้นอย่างช้าๆ ตั้งแต่ 20 นาทีจนถึงหลายชั่วโมง อาการเริ่มแรกที่พบคือ มีอาการเจ็บปวดและเครียดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลิ้นเริ่มแข็งไม่มีความรู้สึก กล้ามเนื้อเริ่มแข็งแกร่งไปทั่วร่างกาย เจ็บตามกล้ามเนื้อเมื่อมีการเคลื่อนไหว รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง จากนั้นเริ่มมีอาการอัมพาตที่ขาภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังถูกกัดและอาการอัมพาตจะผ่านซ่านไปที่หลัง แขนและลุกลามมาที่ต้นคอ กรามจะแข็งขยับปากหรือออกเสียงพูดได้ยาก ม่านตาขยายกว้างมีเหงื่อออก มีอาการชักกระตุกเป็นพักๆ และเริ่มบ่อยครั้งขึ้น สุดท้ายจะมีอาการทางเดินหายใจอย่างเห็นได้ชัด หายใจไม่ออก หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด โดยอัตราการเสียชีวิตของคนที่ถูกงูทะเลกัดอยู่ที่ 25 เปอร์เซ็นต์ในการกัดแต่ละครั้ง สำหรับอาการที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นทั้งหมดทุกอาการและเวลาในการพัฒนาของอาการต่างๆ ก็แตกต่างกันด้วย


 

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น